วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

กุ้งก้ามกราม


กุ้งก้ามกราม

กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium rosenbergii อยู่ในวงศ์ Palaemonidae มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน ตัวอ่อนของลูกน้ำ ลูกไร ลูกปลาขนาดเล็ก ซากของสัตว์ต่างๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่างๆ แถบภาคกลางของประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
กุ้งก้ามกราม มีความยาวประมาณ 13 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักเป็นกิโล เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น
ต้มยำ เผา หรือ ทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบัน ยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย
กุ้งก้ามกราม มีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น กุ้งแม่น้ำ กุ้งหลวง ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก กุ้งนาง เป็นต้น

ปูอยู่ในหอย


ปูเสฉวน

เป็นปูชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างแปลกประหลาด และนิสัยของมันก็แปลกมากด้วย ปูเสฉวนมีขาสิบขาเช่นเดียวกับปูม้าและปูทะเล แต่ปูเสฉวนมีตัวเล็กมาก ส่วนท้ายของ ลำตัวอ่อนนุ่มนิ่มมีลักษณะงอและโค้ง ไม่มีกระดอง แข็งหุ้มดังเช่นปูอื่นทั่วไปปูเสฉวนจึงต้องหาสิ่งอื่นไว้เป็นที่กำบัง ป้องกันตัวตลอดเวลา และสิ่งที่ปูเสฉวนใช้ คือ เปลือกหอยฝาเดียว ที่ตัวหอยตายไปนาน แล้ว เปลือกหอยเช่นนี้มีอยู่มากมายตาม ชายหาดซึ่งเป็นที่ที่ปูเสฉวนอาศัยอยู่ ปู เสฉวนจะเลือกเปลือกหอยที่เหมาะพอดี กับตัว ถอยหลังเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย เวลาปูเสฉวนไปที่ใดก็จะแบกเอาเปลือกหอย นั้นไปด้วย เมื่อปูเสฉวนโตขึ้น ตัวคับเปลือก หอยที่เคยอาศัยอยู่ ปูเสฉวนก็จะละจาก เปลือกหอยอันเดิมเปลี่ยนไปใช้เปลือกหอย อันใหม่ที่มีขนาดพอดีกับตัวต่อไป ปู เสฉวนกินอาหารไม่เลือก มันชอบกิน สัตว์และพืชที่เน่าเปื่อยตามชายทะเล

ของฝากเมืองตรัง



ขนมเค้กเมืองตรัง

หนึ่งในของฝากยอดนิยม หากได้ไปเที่ยว จังหวัดตรัง คือ‘เค้กเมืองตรัง’ ที่ล่ำลือกันว่า รสชาติหวานนุ่มลิ้น ด้วยส่วนประกอบของไข่ไก่ เนย ไม่ใส่ผงฟู และสารกันบูด สีและกลิ่นจากธรรมชาติ ลักษณะพิเศษคือ มีรูตรงกลาง มีให้เลือกหลายรส ได้แก่ ไข่ กาแฟ เตยหอม ส้ม เนยสด ผลไม้ ลูกเกด กล้วยหอม และเผือก นิยมกินกับกาแฟ

สมัยก่อน ร้านเค้กมีนับสิบร้าน เรียงรายสองฟากถนน เพชรเกษมตรัง –ห้วยยอด ขึ้นชื่อที่สุดคงเป็น ‘เค้กขุกมิ่ง’ ริเริ่มโดย นายขุกมิ่ง แซ่เฮง ชาวจีนไหหลำ ผู้เดินทางผ่านตำบลลาภูรา จังหวัดตรัง แล้วเกิดหลงใหลในชุมชนแห่งนี้ เลยตัดสินใจปักหลักเปิดร้านกาแฟ และพยายามสรรหาของกินกับกาแฟมาขาย แต่รสชาติไม่ถูกใจ จึงเกิดความคิดที่จะทำเค้กเอง โดยออกแบบเค้กให้มีรูตรงกลาง ต่อมาได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตรัง และเป็นที่มาของสุดยอดเทศกาลที่กล่าวถึงกันมาก นั่นคือ เทศกาลขนมเค้กเมืองตรัง